งานทุกอย่างนั้นล้วนต้องมีวัตถุประสงค์ว่าทำงานไปเพื่ออะไร และมีเป้าหมายคือสิ่งที่ต้องการจากการทำงานนั้น บ่อยครั้งที่ทีมของเรามีแผน รู้วีที่จะดำเนินการให้เกิดผลงานอะไรสักอย่างนั้นต้องทำอย่างไร แต่พอหันไปดูเป้าหมายแล้วกลับพบว่าไม่มีแผนงานอะไรที่ชัดเจน แผนที่คิดไว้นั้นคิดแบบ “นั่งเทียน” เขียนกันลอย ๆ หรือสักแต่ว่าจะเขียนขึ้นมาโดยที่ก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าผลลัพธ์ (Results) ที่ต้องการปลายทางนั้นคืออะไรแน่
ยิ่งกับผลงานของหน่วยงานแล้ว เป้าหมายยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะนับได้ว่ามันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะกระตุ้นให้เราลงมือทำงานทั้งปวงให้ลุล่วงลงไป และแท้จริงแล้ว จะให้ทีมทำงานไปในทางใด ซ้ายขวาหรือเดินไปหน้าหลัง สมาชิกทั้งหลายจะต้องรู้ให้ชัดถึงเป้าหมายปลายทางที่ต้องไปเดินไปให้ถึงเสียก่อน
Kramer และ Scott Simpson ในหนังสือเรื่อง “How Firm Succeed : A Field Guide to Design Management” บอกไว้ว่า ภาวะผู้นำที่ดีนั้นต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถแจกแจงแบ่งเป้าหมายนั้นให้เป็นเป้าหมายย่อย ๆ พร้อมกับต้องหาวิธีปรับความคิดของสมาชิกแต่ละคนที่อาจจะรับผิดชอบเป้าหมายงานที่แตกต่างกันให้เป็นจุดเดียวกันในเป้าหมายใหญ่ให้ได้
แต่ก่อนสิ่งใด ท่านควรตระหนักไว้เสมอว่าทีมที่จะเดินหน้าได้ดีนั้น สมาชิกในทีมควรต้องรู้ว่าหัวหน้างานอยากได้อะไร หรือคาดหวังสิ่งใดเป็นผลลัพธ์จากบทบาทหน้าที่งานของเรา หากไม่รู้แบบเคลียร์ ๆ ลูกน้อง/ลูกทีมก็อาจจะสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก แถมยังอาจจะลำดับความสำคัญของงานไม่ได้ กว่าจะเกิดผลงานก็ใช้เวลามากกว่าที่ควร ซึ่งนับเป็นความสูญเปล่าที่ต้องขจัดออกไปให้หมดสิ้น
ลูกน้อง/ลูกทีมควรต้องเริ่มต้นรู้ว่าทีมต้องการให้เขามีความรู้ มีทักษะความเชี่ยวชาญในเนื้องาน กระบวนการ/วิธีการทำงาน หรือเรื่องอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนงาน (เช่นทักษะการประสานงาน การเจรจาต่อรอง การสื่อสารเป็นต้น) รวมทั้งต้องการให้มีทัศนคติและพฤติกรรมการทำงานร่วมกันคนอื่นทั้งในและนอกหน่วยงานอย่างไรบ้าง (เช่น เน้นสร้างความสัมพันธ์ ไว้วางใจได้ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ทุ่มเทกับงาน ไม่เลือกงานทำเป็นต้น) หากรู้ได้แน่ชัด งานก็ขับเคลื่อนได้ไม่ยาก
ในบทความนี้ ผมมีคำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายงานที่ท่านควรได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะบริหารลูกน้องและบริหารทีมงานดังนี้ครับ
(1) เป้าหมายต้องเป็นจริงได้ - Richard Templar บอกเอาไว้ว่า เป้าหมายที่ไม่แน่วแน่ย่อมยากที่จะสำเร็จลงได้ โดยเป้าหมายที่แน่วแน่นั้น ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ทำให้บรรลุได้ ไม่เช่นนั้น ก็ไม่ต่างอะไรไปจากการวาดวิมานในอากาศที่ไม่มีทางจะไปถึงได้เลย แต่กระนั้น ก็อย่าได้ตั้งเป้าหมายแบบกล้วย ๆ ตั้งไว้แบบทำได้แน่แบบไม่ต้องออกแรงอะไรให้มาก หรืออย่าตั้งเป้าหมายให้ยากเสียจนมนุษย์ทั่วไปไม่มีทางทำสำเร็จได้ แบบนี้เรียกว่าตั้งเป้าหมายไม่ Realistic นั่นเองครับ ทำไปก็เสียแรงเปล่า แถมยังอาจจะทำให้คนทำงานเสียกำลังใจอีกด้วย
เป้าหมายที่จะทำได้จริงนั้น ว่าไปแล้วก็ควรจะตั้งให้ท้าทายอยู่ในตัว เช่นที่ SAMSUNG มักจะตั้งเป้าหมายงานให้พนักงานไว้สูงถึง 130% ซึ่งเราท่านอาจบ่นว่า “สูงมาก” แต่ก็อย่าลืมด้วยว่าหากพนักงานทำได้ตามเป้านั้นจริงสัก 110% ก็ถือว่าได้ผลงาน “เยี่ยมมาก” แล้วจริงมั้ยครับ เรื่องมีอยู่เพียงว่าหากคิดจะตั้งเป้าหมายไว้ให้สูง ทีมงานต้องเก่งและเฉียบคมอย่างมาก และเป้าที่ควรตั้งจึงไม่ควรจะถึงกับกดดันสุดขีด หรือเครียดกันสุดฤทธิ์แล้วยังคิดไม่ออกว่าจะทำให้บรรลุได้ตามนั้นได้อย่างไรดี
ในทางตรงกันข้าม หากตั้งไว้เหมาะสมแล้ว แต่คนทำงานมีทักษะความสามารถพื้น ๆ ก็เข้าข่าย “เป้าหมายดีแต่ทีมงานไม่เก่ง” ก็ไม่มีประโยชน์เท่าใด ทำนองเดียวกันเป้าหมายที่ตั้งไว้แบบ “ทำได้ชิล ชิล” แต่สมาชิกทีมฝีมือเฉียบขาด ทีมก็จะทำงานกันอย่างซังกะตายกับเป้าหมายที่น่าเบื่อนั้น ซึ่งเท่ากับใช้ฝีมือและศักยภาพของทีมงานอย่างน้อยนิด เสียดายของดีครับ
นอกจากนี้ เป้าหมายที่ดีจะไม่บอกแค่ว่า “ในวันหนึ่งข้างหน้า เราจะเป็นเบอร์หนึ่งของธุรกิจนี้” เพราะวันหนึ่งนั้นไม่เจาะจงเรื่องเวลาแต่อย่างใด ซึ่งไม่ได้เป็นกรอบเวลาที่จะทำให้สมาชิกทุนคนเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจนเอาเสียเลย
(4) สร้างภาพความสำเร็จตามเป้าหมาย - เพื่อสร้างกำลังใจขับเคลื่อนงานไปตามกระบวนการ/วิธีการที่ set ไว้ พร้อมเสริมแรงจูงให้คนทำงานอย่างทุ่มเทตลอดเวลา ในฐานะหัวหน้าทีม ท่านควรจะต้องสร้างภาพความสำเร็จตามเป้าหมายให้ลูกทีมทั้งหลายได้รับรู้บ้าง ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ลูกทีมรู้สึกดีขึ้นเท่านั้น หากแต่จะยังช่วยให้สมาชิกทีมมองเห็นวิธีการหรือเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะทำให้ได้บรรลุผลแตกต่างไปจากของเดิมที่คิดไว้ก็ได้
(5) เขียนเป้าหมายให้เห็นสะดุดตา - ที่จริงนั้นการกำหนดเป้าหมายให้แน่ชัดมักจะช่วยให้การทำงานระหว่างท่านกับลูกน้องมีทิศทางมากขึ้น แถมยังกระตุ้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทุ่มเทพลังงานเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการ งานก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอนครับ
หากกำหนดเป้าหมายขึ้นมาแล้ว ไม่มีลูกน้อง/ลูกทีมคนใดรู้ว่ามันมีอะไรบ้างก็ไม่มีประโยชน์อะไร และที่จริงหัวหน้าก็มักจะไม่มีเวลามาสื่อสารและตอกย้ำเป้าหมายให้ลูกทีมรู้ได้ตลอดเวลา น่าจะลองเขียนเป้าหมายทั้งหลายลงบนกระดาษ หรือติดไว้ที่บอร์ดเพื่อประกาศให้ทุกคนในทีมได้รู้ ผลโดยตรงที่สำคัญนั้นก็คือจะช่วยเตือนให้สมาชิกทีมไม่ออกนอกลู่นอกทางไปทำอะไรที่ไม่ได้ตอบโจทย์ของงาน
(6) แตกเป้าหมายใหญ่ให้เล็กลง - ไม่มีกติกาใดกำหนดไว้ให้ทำแต่เรื่องใหญ่ ๆ ให้สำเร็จ และความสำเร็จใหญ่ ๆ นั้นแม้จะ impact แรง แต่ก็ยากจะทำให้บรรลุ หรือต้องใช้แรงกายแรงใจกันอย่างมหาศาล เป้าหมายใหญ่ ๆ จึงมักจะทำให้คนเสียกำลังใจระหว่างทางได้มาก เมื่อท่านเห็นว่างานใดเป็นงานยักษ์ ซึ่งเป้าหมายก็มัดจะยากบรรลุตามไปด้วย ก็ควรแตกเป้าหมายนั้นให้เล็กย่อยลง และเชื่อมโยงเป้าหมายย่อย ๆ นั้นประกอบเป็นเป้าหมายใหญ่โดยไม่ขาดส่วนประกอบใดไป จากนั้นก็ผลักดันเป้าหมายย่อย ๆ นั้นให้สัมฤทธิผลไปทีละเรื่องตามลำดับความสำคัญ ท่านจะพบว่า ลูกน้อง/ลูกทีมมีกำลังใจดีกว่าทำเป้าหมายใหญ่มากโข
(7) พยายามไม่ลดละ - ไม่มีงานใดที่ทำโดยไม่ได้ใช้ความพยายามหรอกนะครับ พจนานุกรมของคนที่ต้องการความสำเร็จจึงมีคำตัวโตโตที่ท่องให้ติดปากและจำให้ขึ้นใจว่า “พยายาม พยายาม และพยายาม” เท่านั้น และก็มักจะพบว่า การทำงานให้บรรลุเป้าหมายบางเรื่องนั้นยากไม่หยอก หากเผลอพลาดไปเห็นทีต้องได้รื้อฟื้นกันใหม่ จึงต้องพยายามมิเพียงแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำไปเท่านั้น แต่ต้องพยายามแสวงหาเทคนิควิธีการใหม่มาลองใช้เพื่อให้ได้ผลงานมากกว่าเดิม
(8) ยืดหยุ่นตามควร - ควรยืดหยุ่นกับวิธีการที่ทำ หรือยืดหยุ่นกับการแสวงหาคำแนะนำใหม่ ๆ จากคนอื่นรอบข้างบ้าง ไม่ยึดติดแต่เพียงคนเดิม ๆ เทคนิคเก่า ๆ กับความรู้ที่เคยทำสำเร็จที่ใช้นานมนานและอาจจะล้าสมัยไปเสียแล้ว รวมทั้งควรเตรียมพร้อมไว้เผื่อจะปรับเป้าหมายให้ตรงกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน และก็ต้องไม่ตึงเสียจนทำให้ทีมเสียกำลังใจ จนอาจจะส่งผลให้งานของทีมสะดุดลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น