วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

3 แนวคิดเบื้องหลังการนำไปสู่ความเป็นเลิศของการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นเยี่ยม

ในโลกปัจจุบัน  ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งกับหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก  ผลักดันให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความผันผวนยุ่งยาก สภาพการณ์ที่คาดเดาได้ยากว่าองค์กรจะสามารถอยู่รอดจากการแข่งขันทึ่รุนแรง หรือสร้างความเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนได้หรือไม่เช่นนี้  ทำให้องค์กรทั้งหลาย ต่างมุ่งค้นหารูปแบบการบริหารและการจัดการเพื่อให้การปฏิบัติงาน (operation practices) ในองคาพยพต่าง ๆ สามารถเกิดประสิทธิภาพ  ก้าวรุดคู่แข่ง และมีความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ

 
แต่จะทำอย่างไรล่ะครับ  เพราะฟังดูเหมือนเรื่องนี้ เข้าใจได้ง่าย แต่ทำยากไม่น้อย เพราะสภาพแวดล้อมของการบริหารมันซับซ้อน และการที่จะเลือกเอาตัวแบบทางการจัดการที่เค้าค้นคว้าวิจัยกันไว้มาปรับใช้ ก็มักมีเรื่องให้คิดอยู่เสมอ ความยุ่งยากที่ว่านี่ล่ะครับ  เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการปฏิบัติทดลองใช้  เกิดเป็น best practices ทางการจัดการหลายกรณี  กระทั่งสามารถสร้างความเชี่ยวชาญถึงระดับที่ผมเคยยกตัวอย่างว่า Dr. Lynda Gratton  เธอเป็นศาสตราจารย์ด้าน Management Practices ของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษเลยทีเดียว

หากจะให้ผมค้นหาคำตอบมาอธิบายต่อท่านทั้งหลาย  ว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้องค์กรมีรูปแบบการบริหารและการจัดการเพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพนั้น  น่าจะต้องว่ากันยาวมาก และผมเองก็เชื่อว่า มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในภาคปฏิบัติงานจริง ได้นำเสนอไว้ในโลกของการนำเอาทฤษฎีมาปรับทดลองใช้มากมายนัก  ในบทความนี้  ผมจึงขอนำเสนอแนวคิดพื้นฐาน (fundamental approach) เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้น่าจะเหมาะกว่านะครับ

ในบทความสั้น ๆ เรื่อง Striving for High Performance through Operational Excellence  เขียนโดย Sherree DeConvey ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review เมื่อปี 2009 ได้พูดถึงงานของ Accenture บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำยักษ์ใหญ่ด้านการพัฒนาองค์กร ได้นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้จัดการทั้งหลายได้พินิจใคร่ครวญกับ 3 แนวคิดพื้นฐานของการสร้างผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยมโดยอาศัยความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน ผมขอนำเสนออย่างสังเขป ลองติดตามกันดูครับ  

และแน่นอนครับว่า  ในบทความที่ผมนำเสนอนี้  จะยังไม่อธิบายถึงว่า ความหมายของ “ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน” คืออะไร ท่านผู้อื่นลองค้นหาข้อมูลมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันในอีกทางหนึ่งดีมั้ยครับ

-  แนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement Approach)

เรามักได้ยินแนวคิดนี้กันทั่วไป และจัดได้ว่าเป็นแนวคิดยอดนิยมในการนำมาใช้เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการปฏิบัติงานเลยทีเดียว และที่สำคัญ แนวคิดนี้  มักจะออกมาในรูปของแนวคิดริเริ่มเล็ก ๆ (small-scale initiatives)  ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องให้กับองค์กรได้ และก็มีแนวโน้มที่เป็นธรรมชาติมากกว่าการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เครื่องมือการจัดการใหญ่ ๆ มาครอบ เช่น Lean Six Zigma หรือความพยายามในการปรับปรุงกระบวนการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (process optimization)

-  แนวคิดการแทรกแซงที่มีเป้าหมาย (Targeted Intervention Approach)

แนวคิดนี้ ได้รับความนิยมนำมาใช้ในกรณีที่องคืกรได้รับแรงกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงจากภายนอก เช่น การแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาด หรือโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตขององค์กร  โดยมักจะมุ่งเน้นให้เกิดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่เจาะจงชัดเจน  หลายบริษัท เลือกใช้แนวคิดพื้นฐานนี้ เพื่อต้องการกำหนดขนาดของการเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นทีละเรื่องทีละคราวไป ไม่อยากที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรครั้งเดียวเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า “big change” เลย เช่น จัดตั้งศูนย์บริการร่วม (shared service unit)  เป็นต้น   

ที่สำคัญ  การเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายนี้   ก็จะพยายามไม่ให้การปฏิบัติงานที่ดำเนินอยู่มีปัญหามากนัก ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ประกอบอาหารแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ใช้กลยุทธ์การสร้างความสอดคล้องของกลยุทธ์องค์กร กับกลุยทธ์ระดับโลก (global strategy) จากนั้นก็มายกเครื่องระบบโซ่อุปทาน (supply chain overhaul) และใช้ตัวแบบการจัดการคนเก่งใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาพนักงานที่มีความสามารถสูง   


แนวคิดนี้  นำมาใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีขนาดใหญ่ โดยความมุ่งหมายที่จะปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน (Operational Model) รวมทั้งอาจจะมีการยกเครื่ององค์กร “งานใหญ่” ตามมากันค่อนข้างบ่อยครั้ง แนวคิดนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรขนานใหญ่และเกิดอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อให้รองรับการแข่งขันในโลกธุรกิจที่เป็นไปอย่างรุนแรงรวดเร็ว  วิธีการเช่นนี้  มักจะริเริ่มมาจากฝ่ายบริหาร ไล่ลงไปถึงระดับล่าง เพื่อจำกัดหรือควบคุมความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในระดับที่รับได้และเกิดประโยชน์กับองค์กรสูงสุด  

ยกตัวอย่างแนวคิดนี้ได้แก่ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน สร้างโปรแกรมหลายอย่าง ด้วยการตั้งบริษัทลูกในหลายประเทศขึ้นมา พร้อมกับการว่าจ้างบริษัทจ้างเหมาภายนอก (outsource) มาช่วยบริหารและจัดการงานบางอย่าง เช่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์  ไอที  รวมทั้งงานด้านการเงิน เป็นต้น
 

เชื่อว่า บทความนี้  จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้างนะครับ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น